close

กรอกคำที่ต้องการค้นหา

ปิด

แก๊สโซฮอล์ระเหยเร็วกว่าเบนซินจริงหรือ?

12 กันยายน 2564

visibility906

  


 

ใครๆ ก็คิดว่าแก๊สโซฮอล์ หรือ น้ำมันเบนซินผสมแอลกอฮอล์ (เอทานอล) ต้องระเหยเร็วกว่าน้ำมันเบนซิน ยิ่งผสมแอลกอฮอล์มากขึ้น ก็ยิ่งระเหยเร็ว เชื่อกันแบบผิดๆ ฝังรากลึก ทาง Website THAIDRiVER จึงจัดการทดสอบการระเหยของน้ำมันเชื้อเพลิง ทดลองซ้ำๆ เพื่อความแน่ใจ ในสภาพแวดล้อมและเวลาต่างกัน มีหลักฐานบันทึกทั้งภาพนิ่งและวีดิโอ


ไม่ทดสอบ และวัดในถังน้ำมันรถจริง เพราะจะทำให้มองไม่เห็นหรือตวงยาก แต่เลือกใส่ในภาชนะต่างรูปร่างและปริมาณ อีกทั้งพื้นที่ปากที่จะระเหยก็ต่างกัน เพื่อให้พิสูจน์อย่างครอบคลุมทุกด้าน และที่สำคัญ…วางไว้ในรถจริง จอดข้ามวันข้ามคืน คล้ายกับสภาพจริงที่น้ำมันต้องนอนในถังทุกวินาที


ผลการทดลอง มีครบทั้ง เบนซิน 95 / 91 แก๊สโซฮอล์ E10 ออกเทน 91 / 95, E20, E85 และ E100 (หรือแอลกอฮอล์ล้วน ซึ่งทีมงาน THAIDRiVER ได้มาอย่างไม่ง่าย เนื่องจากไม่มีขายและเล็ดลอดออกมายาก (เพราะคนจะเอาไปทำเหล้าขาวหรือยาดอง)
ผลลัพธ์ไร้ข้อกังขา ไม่มีข้อโต้แย้ง ทุกภาชนะ ทุกการทดสอบ เบนซินระเหยเร็วกว่าแก๊สโซฮอล์ ระดับลดต่ำกว่าทุกช่วงเวลา มีภาพเห็นชัดเจนไม่ต้องเล็ง
ทั้งที่มันก็เป็นอย่างนี้อยู่แล้ว ไม่มีวันที่เบนซินจะระเหยเร็วกว่าแอลกอฮอล์ แต่ผู้คนล้วนเชื่อกันไปเอง นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของหลายความเชื่อในสังคมวงกว้างที่ผิดอย่างไม่รู้ตัว และยากจะลบ

คิดก่อนเชื่อเสมอ และจำไว้ว่า เรื่องที่เชื่อกันมานานในคนหมู่มาก อาจไม่จริงเสมอไป
อย่าลืม…แม้แต่บทความนี้ คุณก็ต้องคิดก่อนเชื่ออย่างแรง!
คนไทยทั่วไปมักเชื่อว่าแอลกอฮอล์หรือเอธานอล (เอทิลแอลกอฮอล์) ซึ่งผลิตจากพืชผลทางการเกษตร ที่นำมาผสมกับน้ำมันเบนซินเป็นแก๊สโซฮอล์ จะระเหยเร็วกว่าเบนซินมาก
ทำไมคนไทยจึงเชื่ออย่างนั้น?

น่าจะเป็นเพราะคนส่วนใหญ่เคยถูกฉีดยา ถูกแอลกอฮอล์ทาผิวแล้วเย็น และแห้งเร็วมาก แต่น้อยคนที่จะเป็นช่างซ่อมรถแล้วเคยใช้เบนซินล้างอะไรๆ หรือโดนผิวหนังแล้วเห็นว่าเบนซินก็ระเหย และแห้งเร็ว แม้แต่ช่างหลายคนที่เคยถูกทั้งแอลกอฮอล์ และเบนซินโดนผิวหนัง ก็ไม่เคยมาเปรียบเทียบว่าอะไรระเหยเร็วกว่า และน่าแปลกว่า หลายคนเชื่อว่าเอานอลหรือแก๊สโซฮอล์ระเหยเร็วกว่าเบนซิน ประกอบกับคำร่ำลือที่เกิดขึ้นง่ายในสังคมไทย ไม่ว่าเรื่องนั้นจะจริงหรือไม่ก็ตาม
คนส่วนใหญ่จึงเชื่อ (แบบผิดๆ) ว่า แก๊สโซฮอล์ (น้ำมันเบนซินหรืออีกชื่อว่าแก๊สโซลีน ผสมเอธานอลหรืออีกชื่อว่าแอลกอฮอล์) จะระเหยเร็วกว่าน้ำมันเบนซิน ร่ำลือกันในวงกว้าง และเชื่อแบบฝังรากลึก ทั้งที่ความจริงอาจจะกลับกันก็ได้ น้ำมันเบนซินอาจระเหยเร็วกว่าก็เป็นได้ ไม่มีใครคิดจะพิสูจน์ เพราะไม่ใช่หน้าที่ ในเมื่อเชื่อแบบฝังรากลึกและเป็นวงกว้าง ก็เลยคิดกันไปเองว่า…เป็นความจริง จึงไม่ต้องพิสูจน์หรือจับผิดอะไร
THAIDRiVER เป็นสื่อมวลชนด้านรถยนต์ ที่ตั้งใจสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพ สะดุดใจ และสนใจในประเด็นนี้ จึงจัดการพิสูจน์ว่า จริงๆ แล้วเบนซิน แก๊สโซฮอล์ รวมถึงเอธานอลล้วนๆ อะไรระเหยเร็วกว่ากันแน่ จะเป็นไปตามความเชื่อเกือบทั้งประเทศ หรือต่างออกไป?


ผลพิสูจน์ในทุกการทดลอง…
น้ำมันเบนซิน ระเหยเร็วที่สุด !
แก๊สโซฮอล์ ระเหยช้ากว่า !!

เหลือในภาชนะมากกว่าเบนซิน แบบไม่ต้องลังเล มองเห็นด้วยตาเปล่าชัดเจน ยิ่งผสมเอธานอลมาก ยิ่งระเหยช้า !!! แม้แต่ E10 แก๊สโซฮอล์ที่ผสมเอธานอลแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ ก็ชัดเจนว่าระเหยช้ากว่าเบนซิน ที่สำคัญ…ยิ่งน้ำมันชนิดใด ผสมเอธานอลลงไปเป็นเปอร์เซ็นต์มากเท่าไร ก็ยิ่งระเหยช้า ! ถ้าเป็นเอธานอลล้วนๆ E100 ก็สุดจะชัดเจนว่า ระเหยช้ากว่าเบนซินมากๆ ขัดแย้งกับความเชื่อของคนไทยส่วนใหญ่อย่างสิ้นเชิง
ในการทดลองใช้หลอดแก้วหรือบิ๊กเกอร์แก้วที่ใช้ในทางเคมี ทุกชิ้นได้มาตรฐาน มีขีดบอกปริมาตรเป็นซีซี โดยซื้อจากศึกษาภัณฑ์ฯ ในราคาชิ้นละหลายร้อยบาท หน่วยชั่งตวงวัดถูกต้อง และใช้ขวดเหล้าแบบใสที่ล้างสะอาดแล้ว มีการทดลองหลายครั้ง เพื่อให้ครบครันทั้งเบนซิน แก๊สโซฮอล์ E10 E20 E85 และเอธานอลล้วน ซึ่งหาซื้อจากปั๊มขายปลีกทั่วไป ยกเว้นเอธานอลล้วน E100 แท้ๆ ไม่มีขายให้แก่บุคคลทั่วไป เนื่องจากป้องกันการทำเหล้าเถื่อน และการผลิตเอธานอลปลอดภาษี ทีมงานต้องใช้ความสัมพันธ์พิเศษไปขอจากโรงงานมาเป็นปริมาตรไม่กี่ลิตร ด้วยเหตุผลที่จะใช้ในการทดลองเท่านั้น

ทดลองครั้งนี้เน้นเรื่องการระเหยแบบใกล้เคียงชีวิตจริง ทำทั้งหมด 3 ครั้ง ช่วงเวลาที่เริ่มทดลองมีทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อสังเกตว่าช่วงเวลาที่เริ่มต้นมีผลลัพธ์ต่างกันหรือไม่ จัดทดสอบโดยนำน้ำมันไปไว้ในรถตู้ จอดใน 2 สถานที่ ห่างจากถนนประมาณ 10 กว่าเมตร จอดบนลานปูนกลางแจ้ง ทิ้งไว้ทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อให้สภาพใกล้กับรถที่ใช้งานจริงมากที่สุด

ภาชนะถูกวางอยู่ภายในรถตู้ปิดประตู แต่ก็ไม่สนิทนัก มีทั้งอากาศเข้า-ออก และความชื้นบ้าง เพราะเป็นรถตู้ที่เก่ามากแต่วิ่งได้ ซีลยางต่างๆ ก็เปื่อยไปไม่น้อย ไม่ได้มีการเปิดเพื่อระบายความร้อน ยกเว้นตอนถ่ายรูปหรือวิดีโอ ทำให้บางช่วงตอนแดดแรงๆ มีความร้อนถึง 40-50 องศา และตอนกลางคืนก็ลดลงเหลือ 25-30 องศา และนอกจากนี้มีการทดลองด้วยการวางขวดเหล้าเปล่าที่ใส่น้ำมันหรือเอธานอลไว้ ใต้โรงจอดรถที่โปร่งพอสมควรนานหลายเดือนด้วย ตลอดการทดลองมีการถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอ พร้อมจดบันทึกระดับอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตจะมีการแสดงวิดีโอผลการทดลองในสื่อเวบไซต์ www.thaidriver.com ทุกการทดลองไม่มีการกระเซ็นของน้ำฝนหรือไอน้ำแรงๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงไม่ต้องสงสัยว่าแก๊สโซฮอล์หรือเอธานอลที่ลดระดับช้ากว่าเบนซิน อาจเป็นเพราะมีการดูดความชื้นเข้าไปผสม ส่วนการดูดน้ำ แม้ภายในรถตู้มีความชื้นบ้าง เพราะเป็นรถเก่ามาก ขอบยางต่างเสื่อมสภาพไปมากแล้ว เมื่อมองเข้าไปผ่านผิวหรือปากภาชนะ ก็ไม่พบด้วยตาเปล่าว่า ภาชนะใดมีน้ำเข้าไปผสมให้เห็นอยู่แม้แต่หยดเดียว
ทดลองด้วยภาชนะที่มีพื้นที่ปากต่างกัน เพื่อดูว่ามีผลกับการระเหยของแต่ละชนิดน้ำมันหรือไม่สีน้ำมันเปลี่ยนแปลงไปแม้เป็นชนิดเดียวกัน อย่าคิดว่าเราลงรูปผิด เพราะในการทดลองต่อละครั้งต่างช่วงเวลากัน เนื่องจากราชการเปลี่ยนสีน้ำมันมาหลายครั้ง เพื่อป้องกันการปลอมปนน้ำมัน ทีมงานไม่ได้แอบสลับชนิดน้ำมันแต่อย่างใด และสีน้ำมันที่เปลี่ยนก็ไม่มีผลต่อการทดลอง
ผลการทดลองพบว่า…น้ำมันเบนซิน ที่ไม่ได้ผสมเอธานอล ระเหยเร็วที่สุด
แก๊สโซฮอล์ ระเหยช้ากว่า ยิ่งผสมเอธานอลลงไปเป็นเปอร์เซ็นต์มากเท่าไร ก็ยิ่งระเหยช้าลง เหลือในภาชนะมากกว่าเบนซิน แบบไม่ต้องลุ้น มองเห็นด้วยตาเปล่าชัดเจน


ด้านมลพิษที่หลายคนมองข้าม…
ทิ้งท้ายกับการทดลองเรื่องมลพิษแบบง่ายๆ ชาวบ้านๆ แต่เห็นผลชัดเจน น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 และเอธานอลล้วน E100 ราดลงพื้นปูน 2 จุดแยกกัน จุดไฟพร้อมกัน ตาเปล่ามองเห็นได้ชัดว่า ควันไฟของ E20 มีสีดำ ดูแล้วเป็นมลพิษมากกว่า E100 ที่แทบไม่มีควันสีดำเลย บนพื้นปูนหลังจาก E20 ไหม้ เกิดคราบเขม่าสีดำ ส่วน E100 สะอาดเกือบปกติ ถ้าเป็นเบนซินล้วน คงจะสกปรกกว่านี้ แต่วันที่ทดลองไม่ได้เตรียมเบนซินไว้เผา ไว้จะทดลองใหม่ การใช้เอธานอล จึงมีข้อดีที่ชัดเจนอีกข้อ คือ การสร้างมลพิษต่ำกว่าเบนซิน ใครจะบอกว่าในเครื่องยนต์มีการเผาไหม้ในระบบปิด แตกต่างจากการราดแล้วเผาบนพื้นปูน ก็อยากจะบอกว่า ไม่ได้ทดลองเปรียบเทียบกับตรงตัวขนาดนั้น แต่ทั่วโลกล้วนมีการทดสอบในเครื่องยนต์มานับครั้งไม่ถ้วน แล้วพบว่าแอลกฮออล์เผาไหม้แล้วสกปรก-มีควันน้อยกว่าเบนซิน
นึกถึงง่ายๆ ตอนหาหมอ ที่บางครั้งมีการลนไฟฆ่าเชื้อเครื่องมือทางการแพทย์ในห้องแอร์ ล้วนใช้แอลกอฮอล์ ถ้าใช้เบนซินก็ควันท่วมก็ยังงงว่า ทำไมหลายคนยังเชื่อว่า ใช้น้ำมันเบนซินแล้วเครื่องสะอาดกว่า หรือถนอมเครื่องมากกว่าแก๊สโซฮอล์ ภาพ และบทความนี้ เป็นเพียงการทำให้ทราบความจริงเฉพาะเรื่องการระเหย กระตุ้นเตือนว่า หลายเรื่องราวในชีวิต อาจเป็นความเชื่อที่ผิดในวงกว้าง จนเหมือนเป็นเรื่องจริง ทั้งที่ไม่จริง !

 

ขอบคุณข้อมูลจาก
http://bigbikelover.com/

 

newsmode

ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง

sell

โปรโมชั่นสุดพิเศษ



สินค้าที่คุณอาจชอบ

Flash Sale
- {{ numeral( ((value.unitprice - value.discount_price) / value.unitprice)*100 ).format('0,0') }}% - {{ numeral( value.coupon_per ).format('0,0') }}% - {{ numeral( ((value.unitprice - value.discount_price) / value.unitprice)*100 ).format('0,0') }}% - {{ numeral( value.coupon_per ).format('0,0') }}%
{{ value.product_name }}
฿{{ numeral(value.unitprice).format('0,0') }} ฿{{ numeral(value.price_min).format('0,0') }} ฿{{ numeral(value.discount_price).format('0,0') }} ฿{{ numeral(value.discount_coupon).format('0,0') }} ฿{{ numeral(value.discount_price).format('0,0') }}
฿{{ numeral(value.unitprice).format('0,0') }}
฿{{ numeral(value.unitprice).format('0,0') }} ฿{{ numeral(value.price_min).format('0,0') }} ฿{{ numeral(value.discount_price).format('0,0') }}
฿{{ numeral(value.unitprice).format('0,0') }}
฿{{ numeral(value.discount_coupon).format('0,0') }}
฿{{ numeral(value.discount_coupon).format('0,0') }} ฿{{ numeral(value.discount_price).format('0,0') }}
฿{{ numeral(value.unitprice).format('0,0') }}
ราคาพิเศษ ราคาหลังใช้คูปอง
New ผ่อน 0% Pre order
- {{ numeral( value.coupon_per ).format('0,0') }}%
{{ value.product_name }}
฿{{ numeral(value.unitprice).format('0,0') }} ฿{{ numeral(value.price_min) .format('0,0') }} ฿{{ numeral(value.discount_coupon).format('0,0') }}
฿{{ numeral(value.unitprice).format('0,0') }}
ราคาหลังใช้คูปอง
New ผ่อน 0% Pre order

remove_red_eye{{ value.product_views }}

favorite

content_copy

สินค้าหมด

รับโปรโมชั่นและสิทธิพิเศษก่อนใครที่ Motofiix